“กรงวงกต” The Eternal Labyrinth

การมีอยู่ของเราเกิดขึ้นบนพื้นฐานอะไร การดารงไว้ซึ่งการมีอยู่นั้นประกอบสร้างจากเรื่องราวและความสัมพันธ์รูปแบบใดบ้าง

วันนี้ - 20 กุมภาพันธ์ 2565

Art4C ชั้น 3

อชิตพนธิ์ เพียรสุขประเสริฐ

กดที่ภาพเพื่อดู VR Tour

“ชีวิตเป็นเรื่องไร้เหตุผลและโกลาหลเป็นธรรมชาติ”


การมีความสัมพันธ์กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือบุคคล คือ การเชื่อมโยงเรื่องราวและแลกเปลี่ยนความทรงจาซึ่งกันและกัน การมีอยู่ของชีวิตเป็นการอ้างอิงบนความสัมพันธ์ที่ได้ก่อตัวขึ้น เป็นต้นตอของคาถามในการศึกษาญาณวิทยาที่ว่า การมีอยู่ของเราเกิดขึ้นบนพื้นฐานอะไร การดารงไว้ซึ่งการมีอยู่นั้นประกอบสร้างจากเรื่องราวและความสัมพันธ์รูปแบบใดบ้าง การมองและให้คุณค่าการมีหรือไม่มีอยู่นั้น อาจเป็นเพียงสิ่งธรรมดา หรือสิ่งที่ควรให้คุณค่าหรือไม่ ขึ้นอยู่กับแหล่งอ้างอิงความสัมพันธ์


นิทรรศการ กรงวงกต นาเสนอสมมติฐานของชีวิตในฐานะสิ่งที่ไร้ที่มาที่ไป นาไปสู่คาถามของคุณค่าในการมีอยู่ และองค์ประกอบที่สาคัญของการยึดโยงชีวิตและความตาย ซึ่งก็คือ “ความสัมพันธ์”
การที่มนุษย์ยังดารงอยู่มีลมหายใจ มีสิ่งที่โยงมนุษย์ไว้ไม่ให้ตายไป หรือ อย่างน้อยที่สุด จิต ต้องสัมพันธ์กับ ร่าง ซึ่งในฐานความคิดของอชิตพนธิ์ หากขาดส่วนองค์กระกอบใดไป ชีวิต (การมีอยู่) จะไปสู่ การไม่มี (ความตาย) จากสมการนี้ทาให้ชวนนึกถึงการประกอบเหตุผลการมี (ชีวิต) อยู่ ได้แก่ เรื่องราว ความทรงจา ประวัติศาสตร์ส่วนตัว โลกทัศน์จากสิ่งแวดล้อม สังคม ความเชื่อรอบตัว รวมเป็นคุณค่าหรือจินตนาการ ทุกการประกอบเหตุผลนั้นเชื่อมโยงกันในรูปแบบต่าง ๆ เผยให้เห็นกระบวนการทางานของอชิตพนธิ์ สะท้อนผ่านบริบทพื้นที่ บรรยากาศ บุคคล ผ่านผลงานศิลปะจัดวางอันประกอบด้วย ภาพเคลื่อนไหว เสียง จิตรกรรมนามธรรม และ วัตถุจัดวาง


ชีวิตของอชิตพนธิ์จึงตั้งอยู่บนความสัมพันธ์กับสิ่งอื่น การทางานศิลปะก็เป็นรูปแบบหนึ่งที่ตอบสนองว่า ในร่างกายนี้มีชีวิตที่มีความคิด และสามารถบันทึกความคิดเป็นรูปธรรมได้ เป็นการเยียวยาการคานึงถึงความตาย รวมทั้งเป็นเครื่องมือบรรเทาความหมองหม่นไปในคราวเดียวกัน นามาสู่การสารวจเรื่องราวรอบตัวอันมีผลต่อการตัดสินใจทางคุณค่า ความหมาย หรือการทาความเข้าใจชีวิต และท้ายที่สุดแล้วความตายอาจเป็นสิทธิ์ที่ใช้เสรีภาพในการตัดสินใจได้ทุกเมื่อ เช่นเดียวกับกริยาสามัญอื่น ๆ ไม่ว่าจะ กิน ดู ฟัง เดิน นั่ง นอน และอีกมากมาย หากแต่เป็นการลัดไปสู่จุดเปลี่ยนผันที่ง่ายดาย เพื่อตัดตนออกจาก “วงกต” อันซับซ้อน รวมทั้ง “กรง” ที่กักขัง